รู้จักกับอาการฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดดในฤดูร้อน at iURBAN
ประเทศไทยจัดว่าเป็นเมืองร้อนเพราะสภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ อุณหภูมิสูงตลอดปีและนับจากต้นเดือนมีนาคมจนกระทั่งกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็นระยะเวลาฤดูร้อน สำหรับนักเรียน นักศึกษาได้ปิดเทอมใหญ่ ผู้บริหารระดับสูงบางหน่วยงานได้สิทธิลาพักร้อน อาจกล่าวได้ว่าฤดูร้อนคือฤดูกาลที่รอคอยเพราะได้พักผ่อน แต่บางอาชีพที่ต้องทำงานกลางแดด ท่ามกลางอากาศร้อนจัด มีอาการเหงื่อไหล เหนื่อยง่ายสาเหตุเพราะร่างกายอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ได้รับคลื่นความร้อนมากเกินไป
ส่งผลให้สมองส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกายทำงานผิดปกติ ผลคือร่างกายพยายามปรับตัวแต่ปรับตัวไม่ได้ ทำให้อุณหภูมิร่างกายกลับสูงเกินกว่า 40 องศาฯ การไหลเวียนโลหิตผิดปกติ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ บางรายอาจหมดสติ หรือถึงขั้นเสียชีวิต ทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า “ฮิทสโตรก” (Heat Stroke) หรือที่คนไทยเรียกง่าย ๆ ว่า “ลมแดด”
ใครก็มีสิทธิเป็นฮีทสโตรกได้
คงไม่ใช่ปัญหาอะไรมากสำหรับผู้ที่ทำงานในออฟฟิตหรือหน่วยงานที่มีห้องทำงานปรับอากาศ แต่บางอาชีพเป็นต้นว่า ทหารที่ต้องฝึกภาคสนามกลางแดดเป็นเวลานานๆ ตำรวจจราจร แม่ค้าหาบเร่ ผู้มีอาชีพขี่จักรยานยนต์รับจ้าง เกษตรกร และอีกหลายกิจกรรมที่ต้องทำงานสู้ความร้อน
เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์เลือดอุ่น ร่างกายมีข้อจำกัดเรื่องการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม “โดยเฉพาะอากาศร้อน” ระบบประสาทสมองส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิจะพยายามสั่งการให้ร่างกายปรับตัว ส่งผลให้เร่งระบายเหงื่อออก แต่ระบายไม่ทัน ส่งผลร่างกายผู้ป่วยมีอาการรู้สึกกระหายน้ำมาก ไม่มีเหงื่อ หน้าแดงตัวร้อนจัดแต่ผู้ป่วยยังคงในสภาพแวดล้อมเดิมอยู่ จะเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และหายใจเร็ว อาจหมดสติ บางรายเกิดอาการหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด
หากต้องทำงานกลางแดด ควรกำหนดระยะใหม่เป็นระบบ
สำหรับผู้ที่มีอาชีพทำงานกลางแดดในฤดูร้อน เป็นต้นว่าแม่ค้าหาบเร่ผู้มีอาชีพขี่จักรยานยนต์รับจ้าง เกษตรกร และนักการภารโรงควรเลือกที่ร่มหยุดพักเป็นเวลา ทหารที่ต้องฝึกภาคสนามกลางแดดเป็นเวลานานๆ เมื่อวันใดมีแสงแดดร้อนจัดควรกำหนดระยะเวลาฝึกน้อยลงและพักในที่ร่มมากขึ้น และตำรวจจราจรควรมีระยะเวลาเข้าเวรปฏิบัติงานน้อยลงมีเพื่อนผลัดกันหลายคน
ไม่ใช่แค่คนที่ทำงานกลางแดด เด็กและผู้สูงอายุก็เสี่ยง
นอกจากผู้ที่มีอาชีพที่ต้องทำงานกลางแดดแล้วผู้สูงอายุ และเด็กอ่อน คือวัยที่เสี่ยงกับอาการฮีทโตรกเช่นกันเพราะร่างกายปรับสภาพได้ไม่ดี ควรอยู่ในห้องที่ระบายอากาศที่ดี ส่วนอาการที่แสดงจะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายผู้ป่วยแต่ละคน ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะไม่เสี่ยงกับการเกิดอาการฮิทโตรก คือสัปดาห์ละสามวัน ๆ ละประมาณสามสิบนาที
แนวทางการป้องกันฮีทสโตรกในฤดูร้อน
- ควรจะเลือกสวมเสื้อผ้าโปร่งๆ หลีกเลี่ยงผ้าไหม
- ไม่ปล่อยรู้สึกกระหายน้ำ
- ดื่มน้ำบ่อยๆ ดื่มน้ำเป็นระยะในฤดูร้อน
- ก่อนที่จะทำงานกลางแดดหรือทำกิจกรรมในที่ที่มีอุณหภูมิสูง ควรดื่มน้ำเย็น 1 แก้วก่อนเสมอ หรือเตรียมน้ำติดตัวไปทุกครั้ง
- เมื่อเกิดอาการหายใจไม่ค่อยออก ควรรีบออกจากบริเวณนั้นทันที
การแก้ไขเมื่อพบผู้ป่วยฮีทสโตรก “หมดสติ”
- รีบนำเข้าที่ร่ม อากาศปลอดโปร่ง
- ปลดเสื้อผ้าออกให้หลวม
- จับผู้ป่วยนอนหงายราบลงกับพื้น ยกเท้าผู้ป่วยให้สูงจากพื้น
จนกระทั่งผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ควรส่งแพทย์ตรวจอาการร่างกายอย่างละเอียด
ปัญหาสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นทุกครั้งเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ส่งผลสภาพอากาศร้อนมากกว่าอดีต จนกระทั่งเกิดอาการลมแดดหรือฮีทโตรกคืออาการที่ร่างกายทนต่อความร้อนไม่ไหวจนกระทั่งหมดสติ
พอรู้ทางหนีทีไล่แล้ว คุณก็สามารถลดความเสี่ยงจากฮีทสโตรกหน้าร้อนนี้ได
The post รู้จักกับอาการฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดดในฤดูร้อน appeared first on iUrban.
Credit: รู้จักกับอาการฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดดในฤดูร้อน Web: iURBAN Fanpage: facebook.com/iURBAN.in.th
Comments
Post a Comment