จัดงานวิ่ง Half Marathon บนสะพานข้ามแม่น้ำแคว พื้นที่ประวัติศาสตร์โลกได้ด้วยเทคโนโลยีก่อสร้างสมัยใหม่ (ถอนต้องไวก่อนรถไฟมา) #SHERA at iURBAN
ถ้ามองหาสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ทั่วเมือfงไทยแล้ว หนึ่งในที่ที่ผู้คนทั่วโลกให้การยอมรับ ถึงขนาดเคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ที่โด่งดังแล้ว หนึ่งในนั้นคงต้องมีสะพานเหล็กสีดำทมิฬที่ทอดข้ามแม่น้ำแควใหญ่ อันเป็นตำนานโหดระดับโลกที่ชื่อ “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” ร่วมอยู่ด้วย
สะพานข้ามแม่น้ำแควไม่ได้เป็นเพียงประวัติศาสตร์ของคนไทยเพียงชาติเดียว แต่เป็นถึงประวัติศาสตร์ของคนทั่วโลกที่เป็นสัญลักษณ์สะท้อนถึงความโหดร้ายของสงคราม ในยุคของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กองทัพญี่ปุ่นได้จับเชลยศึกสงครามที่เป็นทหารฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีเชลยทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ และยังสมทบด้วยกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า และอินเดีย อีกจำนวนมาก ที่ถูกใช้แรงงานอย่างโหดเหี้ยมในการสร้าง “ทางรถไฟสายมรณะ”
สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ ภายใต้ความลำบากของเชลยศึกที่ถูกใช้ในการสร้างทางรถไฟ ความทารุนของสงคราม โรคภัย ตลอดจนการขาดอาหาร ทำให้ทางรถไฟสายมรณะแห่งนี้ มีเชลยผู้ที่ต้องล้มตายทุกวัน สังเวยชีวิตให้การก่อสร้างเส้นทางนี้เป็นแสนคน ถึงขนาดเปรียบเทียบได้ว่า “1 ศพ ต่อ 1 ไม้หมอนรถไฟ” นั้นไม่ใช่คำพูดเกินจริง
สะพานข้ามแม่น้ำแควในวันนี้
แม้เทคโนโลยีการก่อสร้างในอดีตจะไม่เจริญรุดหน้าเท่าในวันนี้ แต่ด้วยความโหดเหี้ยมของการใช้แรงงานเชลย ทำให้สะพานข้ามแม่น้ำแควในยุคนั้น สะพานมีความยาวทั้งหมด 300 เมตร ใช้เวลาสร้างจนเสร็จเพียงแค่ 1 เดือนเท่านั้น ซึ่งสะพานข้ามแม่น้ำแควมีทั้งหมด 2 สะพาน คือ สะพานไม้ ซึ่งสร้างครั้งแรก และสะพานคอนกรีตที่เห็นในปัจจุบัน ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำแควแบบคอนกรีตนั้น มีลักษณะโครงสร้างเป็นเหล็กครึ่งวงกลม 11 ช่วง
ความจริงแล้วสะพานข้ามแม่น้ำแควนั้นถูกทิ้งระเบิดพังไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนสะพานไม้ที่ใช้ก่อสร้างในครั้งแรกก็ถูกรื้อออกไปภายหลังกีดขวางการคมนาคมทางน้ำของประชาชน แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำการซ่อมแซมส่วนที่ถูกทำลายขึ้นมา จากสะพานเดิมที่มีเหล็กโค้งได้มีการสั่งโครงเหล็กมาจากประเทศญี่ปุ่นจึงทำให้เห็นว่ามีรูปทรง 4 เหลี่ยมในรูปทรงที่แตกต่างกัน
จากการซ่อมแซมโดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาเป็นมรดกของประวัติศาสตร์ จนสามารถใช้การได้จนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำแควไม่ได้เป็นเพียงพื้นที่เป็นประวัติศาสตร์โลก แต่ยังกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ ที่มีลูกหลานทหารและเชลยที่เสียชีวิตไปนับแสน และนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ทั้งมาท่องเที่ยวตามรอยประวัติศาสตร์และมาไว้อาลัยให้กับบุคคลผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งในวันนี้พื้นที่แห่งประวัติศาสตร์โลกแห่งนี้ เราจะได้นำมาใช้เป็นส่วนสำคัญที่สุดของเส้นทางในการจัดงานวิ่ง ฮาล์ฟ มาราธอน
FB Battery River Kwai Half Marathon Thailand Championship 2017
จากพื้นที่ประวัติศาสตร์โลก วันนี้เส้นทางในตัวเมืองจังหวัดกาญจนบุรีถูกจัดเตรียมอย่างคึกคักเพื่อรับอีเวนท์วิ่ง ฮาล์ฟ มาราธอน ที่มีผู้คนมาจากทุกจังหวัด รวมถึงนักวิ่งจากต่างประเทศ ร่วมกัน 8,000 คน ที่จะได้มาร่วมวิ่งกันกับอีเวนท์การวิ่งในบรรยากาศดีที่มีความพิเศษอยู่ตรง “การวิ่งผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแคว” ซึ่งเป็นจุดไฮไลท์ที่สุดของงานวิ่งในครั้งนี้
อุปสรรค์บนสะพานข้ามแม่น้ำแคว
ที่ทำให้การจัดงานวิ่ง “เป็นไปไม่ได้”
การทำ “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” เปลี่ยนมาเป็นลู่วิ่งนั้น ไม่ได้เป็นโจทย์ที่ธรรมดา โดยเฉพาะเมื่อลองดูข้อจำกัดทั้งหมดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมานั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ลองมาดูกันว่าทำไม
ต้องทำบนจุดที่แค่เดินยังลำบาก
สะพานข้ามแม่น้ำแคว นั้นมีความกว้างทั้งหมด 3 เมตร แต่ตรงกลางเป็นรางรถไฟ และข้างซ้ายขวาเป็นโครงสร้างสะพาน ดังนั้นถ้าไม่ปูพื้นสะพานใหม่ก่อนการวิ่ง ก็จะไม่สามารถจัดงานวิ่งได้แน่นอน อย่าว่าแต่วิ่งเลย แค่เดินไม่ระวังยังจะสะดุดเหล็กสักชิ้นบนสะพานหน้าคว่ำเอาได้ง่ายๆ
วิธีการจัดการ: ทางทีมงานผู้ดูแลโครงสร้างการทำลู่วิ่งบนสะพานในครั้งนี้ เลือกที่จะติดตั้งพื้นด้านซ้ายและขวาของสะพานก่อนวันงาน โดยเหลือรางรถไฟไว้ตรงกลาง โดยใต้พื้นซ้ายและขวามีการขึ้นโครงเหล็กรับน้ำหนักแบบกระจายแรงกระแทกจากพื้นด้านบน และปิดพื้นด้วยแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด หนา 20 มม. ด้านซ้าย-ขวาของรางรถไฟก่อน ซึ่งนี่ทำให้กลายเป็นจุดเดินชมของนักท่องเที่ยวเดินชมสะพานสะดวกมากขึ้นในช่วงเวลาก่อนการวิ่ง
ต้องอนุรักษ์โครงสร้างประวัติศาสตร์
การจัดกิจกรรมบนสะพานข้ามแม่น้ำแควจำเป็นจะต้องคำนึงไม่เฉพาะการก่อสร้างที่ไม่ไปรบกวนโครงสร้างเดิม แต่จะต้องให้สภาพของสะพานเหมือนเดิมมากที่สุดหลังรื้อถอนเมื่อจบกิจกรรม
วิธีการจัดการ: การปูพื้นด้วยแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด มีความแข็งแรงและสามารถยึดได้ง่าย ด้วยการยึดสกรูเข้ากับโครงสร้างเหล็กที่สามารถถอดออกได้โดยง่าย แผ่นพื้นมีความแข็งแรงแต่น้ำหนักเบา จึงไม่รบกวนโครงสร้างเดิมอีกทั้งรถไฟยังสามารถดำเนินการเดินรถได้ตามเดิมทันที
ต้องรื้อให้ทันก่อนขบวนต่อไป
ดูเหมือนจะเป็นโจทย์ที่ยาก เนื่องจากรถไฟขบวนแรกของวันมาตอน 10 โมง ดังนั้นโครงสร้างที่ทำเป็นลู่วิ่ง จะต้องพร้อมสำหรับการรื้อถอนในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งอาจจะมีเวลารื้อถอนเพื่อทดสอบการวิ่งของรถไฟ เพียงแค่ 1 ชั่วโมงกว่าเท่านั้นเอง
วิธีการจัดการ: หลังจากติดตั้งแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด ด้านซ้ายขวาของสะพานเรียบร้อยแล้ว การติดตั้งแผ่นตรงกลางจำเป็นจะต้องติดตั้งหลังรถไฟขบวนสุดท้ายผ่านไปตอนกลางคืน ด้วยวัสดุ เฌอร่าบอร์ด ทำให้การติดตั้งสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จุดไหนที่เกิดความไม่พอดีก็สามารถแก้งานได้ง่าย เมื่อเทียบกับวัสดุอื่น พอหลังจากจบงานวิ่งแผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด ก็สามารถรื้อออกได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่รถไฟจะมาถึง
ต้องแข็งแรงพอรับนักวิ่ง 8,000 คน
วัสดุที่ใช้ทำลู่วิ่ง นอกจากจะต้องผ่านคุณสมบัติข้างต้นทั้งหมดแล้ว พื้นฐานยังจะต้องแข็งแรงมากพอที่จะรองรับน้ำหนักของนักวิ่งทุกคน ทุกน้ำหนักตัว ทุกการกระแทก ด้วยความมั่นใจว่า จะต้องไม่มีการแตกหัก และไม่กระเดิดขึ้นมาระหว่างกิจกรรม เพราะสิ่งนี้สำคัญมาก นั่นหมายถึง อันตรายถึงชีวิตได้จากการแตกหักเพียงเล็กน้อยจากนักวิ่ง 8,000 คน
วิธีการจัดการ: แผ่นพื้นเฌอร่า นอกจากจะประกอบติดตั้งได้ง่ายแล้ว ยังมีความคงทน รองรับแรงกระแทกในหลายทิศทางได้เป็นอย่างดี อีเวนท์การวิ่งเป็นการแสดงถึงศักยภาพที่ดีที่สุด เนื่องจากนักวิ่งแต่ละคนกระแทกในมุมที่เลือกไม่ได้ ดังนั้น จะต้องแน่ใจในวัสดุอย่างมาก โดย เฌอร่าบอร์ด ความหนา 20 มม. นั้นสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 2,472 กก./ตร.ม. ในขณะที่แผ่นไม้อัดซีเมนต์รูปแบบเดิมนั้นรับน้ำหนักได้เพียง 960 กก./ตร.ม. เท่านั้น เรียกว่ารับน้ำหนักได้มากกว่าถึง 2 เท่า และทนทานกว่า (อันที่จริงคุ้มค่ากว่าด้วย)
ต้องต่อสะพานที่ขาด
สะพานข้ามแม่น้ำแควในช่วงสะพานเชื่อมต่อกับรางรถไฟ ปกติแล้วเป็นทางที่อันตรายต่อการวิ่ง เพราะด้านข้างไม่มีไม้หรือเหล็กกั้น ทำให้สามารถพลาดตกลงข้างล่างได้ง่าย ไม่มีขอบซ้ายขวาเหมือนบนสะพาน ถ้าจัดงานวิ่งคงต้องมีคนได้รับอันตรายจำนวนมาก
วิธีการจัดการ: เฌอร่าปรับแก้ลู่วิ่งตรงจุดนี้ด้วยการสร้างรั้วกั้นขึ้นมาด้วย ไม้รั้วเฌอร่า เป็นความยาวต่อจากสะพานเหล็กจนถึงพื้นดิน เป็นระยะ 150 เมตร ซึ่งเป็นรั้วที่แข็งแรงพอที่จะให้นักวิ่งปลอดภัยจากการวิ่งที่ชุลมุน ก่อนที่จะเข้าถึงตัวสะพานที่มีพื้นที่วิ่งกว้างมากขึ้นกว่าเดิม
แก้โจทย์ยากให้ “เป็นจริงได้”
ด้วย เฌอร่า บอร์ด
จากอุปสรรค์ทั้งหมดและเบื้องหลังเทคโนโลยีการก่อสร้าง ทำให้วันนี้อีเวนท์การวิ่ง ฮาร์ฟ มาราธอน ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแควระยะ 450 เมตร บนแผ่นเฌอร่าบอร์ด 1,400 แผ่น สามารถผ่านไปได้ด้วยดี โดยไม่มีความผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้นจากการวิ่งผ่านช่วงสะพานข้ามแม่น้ำแคว ที่เป็นโจทย์การก่อสร้างที่ในอดีตสามารถพูดได้ว่า “เป็นไปไม่ได้” ที่จะจัดงานวิ่งด้วยเวลาเพียงแค่นี้ พื้นที่อย่างนี้ ต้องรับความเสี่ยงจากการกระแทกหลายพันคนแบบนี้ แต่ในวันนี้อีเวนท์แบบนี้ได้เป็นไปแล้ว ด้วยเทคโนโลยีไม่ใช่เพียงแค่โชคดี แต่เพราะด้วยการคิดค้นพัฒนาในทุกๆ
ขั้นตอนการผลิตจนเกิดเป็นนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่ตอบโจทย์ด้านฟังก์ชั่นและดีไซน์ เริ่มตั้งแต่การขึ้นรูปวัสดุด้วยเทคโนโลยีแฮทเชค (Hatschek) ที่ช่วยให้ไฟเบอร์ซีเมนต์ เฌอร่า แข็งแรงจากการผสานทักทอไฟเบอร์ซีเมนต์แต่ละชั้นๆ ให้เนื้อวัสดุละเอียด แน่น และทนทาน ก่อนผ่านกระบวนการตัดด้วยเทคโนโลยี Water Jet ที่คมกริบและแม่นยำ ให้ขอบวัสดุเรียบสวย ก่อนนำเข้าเครื่องอบออโตเคลฟ (Autoclave) ที่ควบคุมความดันและความร้อนเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นได้มาตรฐาน และด้วยกระบวนการ Packaging จากเครื่องจักรที่สะดวกรวดเร็ว ทำให้ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ เฌอร่า ส่งถึงตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสิ่งที่เป็นยิ่งกว่าที่อยู่อาศัย นั่นคือ การรองรับกิจกรรมทางกีฬาที่มีโจทย์ไม่ธรรมดาแบบ ลู่วิ่งบนสะพานข้ามแม่น้ำแคว เช่นนี้
ภาพกิจกรรมที่สำเร็จได้ด้วยเทคโนโลยี
ส่องเทคโนโลยีไฟเบอร์ซีเมนต์ของ SHERA
จากเทคโนโลยีไฟเบอร์ซีเมนต์เดียวกันของเฌอร่านี้ สามารถนำไปผลิตใช้เป็นให้ตรงกับโจทย์ได้หลากหลายมาก ไม่ว่าจะรูปทรงที่แตกต่างกัน ทั้งเป็นกระเบื้องหลังคา หรือเป็นไม้รั้ว ฯลฯ ความแข็งแรงที่แตกต่างกัน เช่น ผนังอาจไม่ต้องการความแข็งแรงเท่าพื้น โดยทั้งหมดนี้ทำให้เทคโนโลยีไฟเบอร์ซีเมนต์ของเฌอร่านั้น สามารถใช้สร้างบ้านได้ทั้งหลังในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นพื้น ผนัง หลังคา หรือแม้แต่จุดตกแต่ง
โดยทั้งหมดได้จุดแข็งของไฟเบอร์ซีเมนต์ร่วมกัน นั่นคือ ความทนทาน เรียบร้อยแม่นยำ ติดตั้งง่าย ถ้าหากจะดูเจาะมาที่ แผ่นพื้น ที่ใช้ในการรับน้ำหนักอย่างงานวิ่งครั้งนี้ ข้อดีของ เฌอร่า บอร์ด คือ
- แผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด รับน้ำหนักได้มากกว่าไม้อัดซีเมนต์
เมื่อพิจารณาจากความหนาที่เท่ากัน วางบนระยะคงที่เท่ากัน - แผ่นพื้น เฌอร่าบอร์ด ติดตั้งง่าย น้ำหนัก สะดวกและรวดเร็ว
ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก - แผ่นพื้น เฌอร่า บอร์ด สามารถติดวัสดุปิดผิวได้ทุกชนิด ไม่ต้องใช้กาวที่พลังยึดเกาะพิเศษเหมือนไม้อัดซีเมนต์ที่มีผิวมัน
- แผ่นพื้น เฌอร่า บอร์ด สามารถ ตัด ตอก เจาะ โดยไม่ต้องเคลือบกันความชื้น เหมือนไม้อัดซีเมนต์ ซึ่งไม้อัดซีเมนต์หากใช้งานไปนานๆ สารที่เคลือบจะหลุดล่อน ทำให้แผ่นบวม ชื้น และขึ้นราได้
ทั้งหมดนี้ แน่นอนที่จะสรุปได้ว่า เทคโนโลยีที่ใช้ในงานหนักอย่างงานวิ่งในครั้งนี้ จะเป็นเทคโนโลยีที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อการก่อสร้างของคุณได้เช่นกัน ถ้าหากคุณคิดจะสร้างหรือต่อเติมครั้งต่อไป อย่าลืมที่จะพิจารณาเทคโนโลยีทันสมัยจาก เฌอร่าที่สามารถใช้กับทุกส่วนในบ้านและคอนโดของคุณ
The post จัดงานวิ่ง Half Marathon บนสะพานข้ามแม่น้ำแคว พื้นที่ประวัติศาสตร์โลกได้ด้วยเทคโนโลยีก่อสร้างสมัยใหม่ (ถอนต้องไวก่อนรถไฟมา) #SHERA appeared first on iUrban.
Credit: จัดงานวิ่ง Half Marathon บนสะพานข้ามแม่น้ำแคว พื้นที่ประวัติศาสตร์โลกได้ด้วยเทคโนโลยีก่อสร้างสมัยใหม่ (ถอนต้องไวก่อนรถไฟมา) #SHERA Web: iURBAN Fanpage: facebook.com/iURBAN.in.th
Comments
Post a Comment