รู้ก่อนซื้อบ้าน “ภูมิสถาปัตยกรรม” สำคัญกับชีวิตอย่างไร? สัมภาษณ์ภูมิสถาปนิก RAFA
ภูมิสถาปัตย์ อาจเป็นศัพท์ไทยที่คนทั่วไปไม่ค่อยได้ยินนัก แต่ในวงการสถาปนิกนั้นก็เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นอีกหนึ่ง แขนงที่มีผลอย่างมากต่อการออกแบบทุกโครงการ วันนี้ทีมงาน iURBAN ได้รับเกียรติที่จะได้สัมภาษณ์พูดคุยกับสถาปนิกท่านที่เป็น ภูมิสถาปนิก และมีประสบการณ์กับโปรเจคมาหลายรูปแบบ ท่านคือคุณชัยรัตน์ สุระจรัส CEO ของบริษัท RAFA (ระฟ้า)
สำหรับการสัมภาษณ์คุณชัยรัตน์ คุณผู้ชมสามารถคลิกดูได้จากวิดีโอสัมภาษณ์ ในส่วนของโพสต์นี้เราจะมาขยายความถึง “ภูมิสถาปัตยกรรม” และโปรเจคที่คุณชัยรัตน์ได้กล่าวถึงไว้ในคลิป
RAFA
ผู้ออกแบบพื้นที่นอกอาคารทุกรูปแบบ
RAFA (ระฟ้า) เป็นบริษัทออกแบบ เบสเป็นภูมิสถาปนิก ซึ่งเป็นแพลนเนอร์และเป็นสถาปนิกด้วย เปิดให้บริการมา 28 ปีแล้ว ให้บริการทางด้านออกแบบ landscape และ architecture ที่ตั้งชื่อ ระฟ้า เพราะต้องการให้ง่าย เป็นไทย ดูเป็นมิตร สามารถเข้ากับคนอื่นได้ง่าย คุณชัยรัตน์อยากให้ดูเป็นไทยและเป็นมิตรมากๆ
คุณชัยรัตน์กล่าวว่า สถาปนิกทั่วไปจะมีอีโก้ในตัวเอง แม้แต่ตัวคุณชัยรัตน์เองก็ตาม แต่งานออกแบบที่ดีนั้นจะต้องสะท้อนความเป็นตัวตนของเจ้าของมากกว่าความเป็นตัวตนของตัวเอง ถ้าหากลูกค้าขอแล้วไม่ได้ก็อาจจะไม่ถูก เพราะสถาปนิกมีหน้าที่ทำผสมผสานความฝันของลูกค้ามาผสมกับความสามารถของสถาปนิก เพื่อให้โครงการออกมาเป็นความจริง
ภูมิสถาปัตย์
มีผลมากกว่าแค่สวยงาม
คุณชัยรัตน์ได้กล่าวว่า ภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape Architecture) เป็นแขนงของสถาปัตยกรรมการอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการออกแบบเฉพาะงานที่เป็นภูมิสถาปัตยกรรม คือ งานที่อยู่ภายนอกตัวอาคารทั้งหมด ถ้างานสถาปนิกคือการออกแบบตัวอาคาร ภูมิสถาปัตยกรรม ก็คืองานที่อยู่ภายนอกอาคาร
สมัยก่อนคนคิดว่างานภูมิสถาปัตยกรรม คือ แค่เพียงแค่คนจัดสวน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภูมิสถาปัตย์ ในการทำงานของ RAFA นั้นจำเป็นต้องทราบข้อมูลระดับการทำวิจัยในแง่ของผู้ใช้งาน การทำงานกิจการในอาคาร สภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นและรอบข้าง และข้อมูลเชิงลึกอีกมากมาย เพื่อการออกแบบพื้นที่ ที่มีผลกับอาคารนั้นๆ และมีผลกับพื้นที่รอบโครงการนั้นด้วย ส่งผลให้โครงการนั้นดีขึ้น และสภาพแวดล้อม พื้นที่โดยรอบนอกโครงการดีขึ้นด้วย
3 โปรเจคที่ภูมิใจของคุณชัยรัตน์
RAFA ทำงานมาเกือบทุกประเภท ไม่เพียงแต่โครงการอสังหาริมทรัพย์ บ้านที่พักอาศัย สวนสนุก โรงแรม รีสอร์ท สนามบิน ฯลฯ ก็ทำมาหมดแล้ว ที่จริงก็ภูมิใจทุกโปรเจค แต่ถ้าวัดความพอใจเมื่อมีการสร้างจริงแล้วโครงการทุกฝ่ายทำได้เต็มที่เคยออกแบบไว้ ทำงานได้อย่างเต็มที่ ถ้าจะต้องเลือกที่ภูมิใจขอให้ 3 โปรเจคนี้
1. สวนสนุกดรีมเวิร์ล
เป็นงานออกแบบที่ได้ร่วมงานกับเจ้าของโครงการตั้งแต่เริ่มต้น แม้ในปัจจุบันอาจมีความโทรมบ้างตามกาลเวลาและการดูแล แต่การออกแบบนั้นไม่ได้สนใจเพียงแต่ความสวยงาม การออกแบบจึงได้คำนึงถึงผังการทำงาน การเข้าไปดูแล รวมถึงการขยายและการเจริญเติบโตของสวนสนุก ซึ่งในปัจจุบันผ่านมา 25 ปี การตกแต่งอาจทรุดโทรมไปบ้าง แต่งานออกแบบที่เป็นโครงสร้างเหล่านี้ยังคงเป็นสิ่งที่ทำงานได้อย่างดีเยี่ยมอยู่
2. สวนปทุมวนานุรักษ์
เป็นสวนสาธารณะระดับประเทศโครงการล่าสุดของไทย บนพื้นที่ใจกลางมหานครกรุงเทพข้างเซ็นทรัลเวิร์ลด้วยมูลค่าพื้นที่สูงกว่าตารางวาละ 2 ล้านบาท แถมยังที่มีขนาดความกว้างถึง 10 ไร่
สิ่งสำคัญของสวนปทุมวนานุรักษ์ไม่เพียงเป็นสวนสาธารณะใจกลางเมือง แต่ยังเป็น “สวนของพ่อ” เป็นสวนของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งมีพระราชดำริที่จะเก็บพื้นที่นี้ไว้ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนไทย ที่จะได้ให้ประชาชนทุกคนทุกชนชั้นได้ใช้สวนนี้ในย่านที่มีแต่ศูนย์การค้าแน่นขนัด ภายในสวนปทุมวนานุรักษ์มีการออกแบบที่สะท้อนเรื่องราวของแนวคิดจากพระราชกรณียกิจต่างๆ ซึ่งคุณชัยรัตน์ได้กล่าวไว้ว่า ถ้าหากมองผ่านๆ อาจจะเป็นสวนสาธารณะธรรมดา แต่ถ้าหากสังเกตให้ดีและตั้งคำถามว่าออกแบบมุมต่างๆ จะพบคำตอบถึงแนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้
ปัจจุบันสวนปทุมวนานุรักษ์นั้นยังไม่เปิดให้บริการ มีแผนการเปิดปลายปีนี้
3. พฤกษา อเวนิว (Pruksa Avenue)
พอถึงข้อนี้คุณชัยรัตน์ชี้แจงด้วยความอารมณ์ดีว่าไม่ได้เลือก พฤกษา อเวนิว เพราะเป็นลูกค้า แต่ที่เลือกมาเพราะภูมิใจจริงๆ ซึ่ง พฤกษา อเวนิว นั้นเป็นโปรเจคที่รวมหลายโครงการเข้าด้วยการบนพื้นที่ส่วนกลางไม่รวมแต่ละโครงการถึง 400 ไร่ มีโครงการบ้านย่อยๆ หลายระดับอยู่ร่วมกันจำนวนมาก
ความท้าทายของ พฤกษา อเวนิว คือการที่ต้องออกแบบให้ทั้งหมดออกมาเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกัน และที่สำคัญคือ ต้องออกแบบให้คนที่อยู่อาศัยแต่ละโครงการรู้สึกได้ว่าสิ่งที่ได้ไม่ใช่เพียงแค่โครงการเดียวที่เขาซื้อในนั้น แต่เขาได้มากกว่า ไม่ได้สวยเพียงแต่โครงการตัวเอง แต่สวยหมดเลย
คอนเซ็ปต์สำคัญของการออกแบบ
พฤกษา อเวนิว (Pruksa Avenue)
กฏหมายการออกแบบโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีสวนสาธารณะปริมาณไม่น้อยกว่า 5% ของพื้นที่ขายโครงการ (แม้ว่าโครงการจะสร้างมากกว่านั้นอยู่แล้ว) โจทย์คือ จะทำอย่างไรที่จะให้คนที่อยู่ในโครงการนั้นได้มากกว่านั้นขีดจำกัดของโครงการเดียว
ไอเดียการออกแบบภูมิสถาปัตย์จึงเป็นการนำพื้นที่สวนสาธารณะของแต่ละโครงการ มาเชื่อมต่อกับพื้นที่โครงการใหญ่ของ พฤกษา อเวนิว มาเชื่อมกับพื้นที่สวนของโครงการเล็ก ให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ ซึ่งจะทำให้ลูกบ้านได้มากกว่าที่สามารถเป็นเจ้าของได้จากโครงการปกติ
สิ่งที่ออกแบบไว้ให้เมื่อผู้อาศัยผ่านก้าวแรกเข้าในถึงใน พฤกษา อเวนิว จะรู้สึกปลอดภัย รู้สึกว่าเป็นที่ของเขา เป็นความรู้สึกว่าที่นี่เป็นที่ของเขาที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่น และไม่ว่าเขาจะพาเพื่อนมาหรือจะพาใครมาก็ตาม เมื่อเข้ามาถึงโครงการแล้วจะต้องว้าว ให้รู้สึกให้ได้ว่า “โคตรน่าอยู่เลยอ่ะ”
ภูมิสถาปัตย์มีผลทำให้ชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร
คุณชัยรัตน์ ได้เปรียบเทียบให้เห็นระหว่างบ้านติดกัน 2 หลัง – หลังที่ 1 ไม่ดูแลพื้นที่รอบบ้าน วางกองหนังสือพิมพ์ ถังแก๊ส เทปูนทับพื้นที่รอบบ้าน กับหลังที่ 2 มีการตกแต่งสวนและพื้นที่รอบบ้านอย่างมีความสุข มีต้นไม้ให้ร่มเงา มีสวนเล็กๆ ภายในรั้วบ้าน
สิ่งที่สะท้อนความคิดของบ้านหลังที่ 1 คือ เขาคิดว่า “บ้าน” ของเขาคือ พื้นที่เมื่อเขาผ่านเข้าไปในตัวอาคาร แต่สำหรับบ้านหลังที่ 2 “บ้าน” ของเขาคือพื้นที่ตั้งแต่เข้าไปในรั้วแล้ว ซึ่งสามารถที่จะใช้ทุกตารางเมตรได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากที่สุด ไม่เฉพาะเพียงแค่วางของ แต่ความสุขจากการได้นั่งในสวน รดน้ำต้นไม้ เดินรื่นรมย์กับพื้นที่ทั้งหมด ถ้าหากคิดดูให้ดี นั่นก็คือสิ่งสำคัญที่จะให้ประโยชน์กับชีวิตได้แล้ว
บ้านและโครงการต่างๆ ภายใน Pruksa Avenue
Extend The Idea
ไอเดียการเปรียบเทียบทั้ง 2 บ้านกับบ้านหลังที่ 2 นั้นได้ถูกนำมาขยายสเกลจากบ้านตัวเอง กลายเป็นหมู่บ้านตัวเอง ซึ่งแทนที่เขาจะรู้สึกว่าโครงการของเขานั้นเริ่มต้นที่หมู่บ้านของตัวเอง แต่กลายเป็นความภูมิใจนั้นเขาจะได้รับตั้งแต่ก้าวแรกที่ขับรถเข้ามาในโครงการ “พฤกษา อเวนิว” แล้ว
คุณเองก็ช่วยออกแบบเมืองได้
ไม่ว่าจะเป็นใครและอยู่ที่ไหน
สุดท้ายข้อคิดเล็กๆ ที่ได้จากการพูดคุยกับคุณชัยรัตน์
การดูแลพื้นที่ร่วมกันไม่ว่าเป็นพื้นที่ไหนในกรุงเทพก็ตาม ถ้าหากทุกโครงการ ทุกอาคารของเรา พื้นที่ที่อยู่ในการดูแล หรือแม้แต่บ้านของตัวเอง ถ้าทุกคนช่วยกันดูแลพื้นที่รอบอาคารไว้ดี มีต้นไม้เขียวขจี มีบรรยากาศที่ชวนมอง ร่มรื่นแล้ว พลังเล็กๆ ที่ทุกคนรวมกัน ย่อมจะส่งผลให้กรุงเทพหรือทุกพื้นที่ในประเทศไทยนั้นเป็นเมืองที่น่าอยู่มากขึ้นได้
พออ่านจนถึงตรงนี้แล้ว ก็รู้สึกว่าอยากไปดูแลต้นไม้หน้าบ้านเลยทันที :D
The post รู้ก่อนซื้อบ้าน “ภูมิสถาปัตยกรรม” สำคัญกับชีวิตอย่างไร? สัมภาษณ์ภูมิสถาปนิก RAFA appeared first on iUrban.
Via: รู้ก่อนซื้อบ้าน “ภูมิสถาปัตยกรรม” สำคัญกับชีวิตอย่างไร? สัมภาษณ์ภูมิสถาปนิก RAFA
Comments
Post a Comment