อาการโรคหัวใจมีหลายอาการ โดยโรคหัวใจที่สำคัญแบ่งได้ดังนี้ at iURBAN
อาการโรคหัวใจมีหลายอาการ โดยโรคหัวใจที่สำคัญแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. ภาวะหัวใจล้มเหลว / หัวใจอ่อนกำลัง (Heart Failure)
ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่หัวใจทำงานได้ไม่ดีอย่างที่ควรจะเป็น ภาวะที่หัวใจอ่อนแอ จึงทำให้การทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งปกติที่เป็นเรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น แต่ก็ยังมีวิธีต่างๆ ที่ผู้ป่วยและแพทย์จะร่วมมือกันเพื่อช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ดีขึ้น
2. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเป็นโรคหัวใจพบบ่อยในผู้ใหญ่ โดยมีปัจจัยเสี่ยงคือ อายุเยอะ
สูบบุหรี่จัด ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และออกกำลังกายไม่เป็นประจำและไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีการตีบตันในหลอดเลือด เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้
อาการโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ผู้ป่วยจะมักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเหนื่อยง่าย จุกแน่น เสียดหรือแสบร้อนในบริเวณทรวงอก เหงื่อออก ใจสั่น เป็นลม อาจเป็นแบบฉับพลันและรุนแรงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือที่เรียกว่า หัวใจพิบัติ ( Heart attack ) ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูงหากรักษาไม่ทัน ถือเป็นภาวะวิกฤตที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน
3. หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ภาวะหัวใจเต้นเร็ว หรือช้ากว่าปกติ เนื่องจากความผิดปกติของ
การกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้เกิดโรคหัวใจหลายชนิด เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หรือหลอดเลือด หัวใจตีบตัน หรือความผิดปกติอื่น ๆ เช่น การส่งกระแสลัดวงจร มีแผลเป็นหรือก้อนไขมัน ทำให้หัวใจมีจุดที่สร้างกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ
อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยมักมีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย หมดสติ หรือ หัวใจวาย ขึ้นกับอัตราการเต้นของหัวใจ ระยะเวลาที่เกิด รวมทั้งสาเหตุ อย่างไรก็ตามถ้าหัวใจบีบตัวได้ปกติ โอกาสเกิดหัวใจวายก็น้อย
การรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ รักษาด้วยยา(ยาคลายเครียด) ใช้ในกรณีที่จับความผิดปกติไม่ได้ แต่ถ้าพบความผิดปกติจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์อาจให้ยาต้าน
การเต้นผิดปกติกลุ่มต่างๆ หรือยาอื่นๆ หรือใช้วิธีการจี้หัวใจด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงเท่าคลื่นวิทยุ
และการฝัง เครื่องมือพิเศษ นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดโรค เช่น ความเครียด วิตกกังวล การพักผ่อนไม่พอเพียง ออกกำลังกายหักโหม การสูบบุหรี่ ดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง
เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน แอลกอฮอล์ การกินยาหรือฉีดยาที่กระตุ้นหัวใจ เป็นต้น
4. โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
หลอดเลือดแดงใหญ่ในร่างกายมีหน้าที่นำเลือดแดงจากหัวใจส่งไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีความยาวตั้งแต่ในช่องอกจากหัวใจ จนถึงช่องท้อง ความผิดปกติที่ทำให้เกิดความอ่อนแอของผนังหลอดเลือด เกิดจากการที่หลอดเลือดเสื่อมตามอายุหรือความผิดปกติอื่นใด มีผลทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นเกิดการโป่งพอง และแตกออกได้ ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ หลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้อง และในช่องอก
อาการโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการแสดงมาก่อนมักจะตรวจพบโดยบังเอิญจากการถ่ายภาพเอ๊กซเรย์ทรวงอก หรือ คลำก้อนเต้นได้ในช่องท้อง ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องอก มักจะมีอาการจากการกดเบียดของหลอดเลือดที่อวัยวะข้างเคียง เช่น กดหลอดลม ทำให้หายใจลำบาก กดเบียดหลอดอาหาร ทำให้กลืนลำบาก กดเบียดเส้นประสาทที่เลี้ยงกล่องเสียง
ทำให้เสียงแหบ เป็นต้น ถ้ามีอาการแน่นอก ปวดหลัง หน้ามืดหมดสติ หรือไอเป็นเลือด อาจบ่งชี้ว่ามีการปริแตกของหลอดเลือดแดงใหญ่
5. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
เกิดเนื่องจากมีความผิดปกติของการเจริญเติบโตของหัวใจในขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ โรคหัวใจพิการที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากการมีรูโหว่ที่ผนังกั้นภายในห้องหัวใจ ลิ้นหัวใจตีบตันหรือรั่ว หลอดเลือดออกผิดจากตำแหน่ง ปกติ เป็นต้น สามารถวิเคราะห์ความผิดปกติได้ ตั้งแต่ขณะอยู่ในครรภ์มารดา โดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram)
อาการโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด อาการเขียว เกิดจากเลือดดำไหลเข้าสู่เส้นเลือดแดงที่ส่งไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกายทำให้เด็กมีลักษณะผิวหนังหรือกล้ามเนื้อเขียวคล้ำ
อาการเหนื่อยง่าย เกิดเนื่องจากร่างกายได้รับออกซิเจนที่ส่งมากับเลือดไม่เพียงพอ และหัวใจมีการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้น้อยลงทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากได้เหมือนคนปกติ
การเจริญเติบโตช้า เนื่องมาจากความผิดปกติของการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะไม่เพียงพอ
อาการหัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วขึ้นหรือหัวใจเต้นช้าเกินไป หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
เหงื่อออกมาก มีเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ นิ้วมือ นิ้วเท้าปุ้ม และ การนั่งยองๆหรือนอนในท่าเข่าชิดอก
6. โรคหัวใจรูห์มาติค
พบในเด็กอายุ 7-15 ปี สัมพันธ์กับการติด เชื้อแบคทีเรียชนิดเบต้าฮีโมไลติค สเตร็ปโตคอคคัส ที่ลำคอ
ซึ่งทำให้คออักเสบ ไข้สูง ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคนี้ ถ้าได้รับเชื้อโรคนี้ซ้ำอีกจะเกิดอาการ
อักเสบที่ หัวใจ โดยเฉพาะลิ้นหัวใจ ปวดบวมที่ข้อ และมีผื่นที่ลำตัว ในรายที่เป็นมากทำให้หัวใจวาย
และเสียชีวิตได้ ถ้ามีอาการอักเสบ ซ้ำ หลายๆ ครั้ง จะเกิดพังผืดขึ้นที่ลิ้นหัวใจจนเปิดไม่เต็มที่หรือปิด
ไม่สนิท ทำให้ลิ้นหัวใจตีบแคบลงหรือรั่ว
อาการโรคหัวใจรูห์มาติค มีไข้ ปวดบวมตามข้อ มีปุ่มใต้ผิวหนัง ผิวหนังเป็นผื่นแดง กล้ามเนื้อกระตุกไม่มีแรง และมีหัวใจอักเสบ คือ บวม เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หอบ
อาการโรคหัวใจในเด็ก อาการที่พบบ่อยในเด็กที่ป่วยเป็นโรคหัวใจทั้ง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคหัวใจเด็กที่เกิดภายหลังคลอด ได้แก่
• ดูดนมแล้วเหนื่อยง่าย
• หายใจเร็วกว่าปกติ บางรายมีอาการคล้ายหอบหลังออกกำลังกาย
• เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
• น้ำหนักตัวไม่ค่อยเพิ่ม เลี้ยงไม่ค่อยโต หรือเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
• หัวใจเต้นแรงและเร็วกว่าปกติ
• เป็นหวัดบ่อยหรือปอดบวมบ่อยกว่าปกติ
• ในบางรายมีตัวเขียวมาแต่กำเนิด หรือเขียวในช่วงหลัง
การรักษาโรคหัวใจในเด็ก สามารถให้การรักษาตามชนิดของโรคนั้นๆ
โดยทั่วไปมีวิธีรักษาดังต่อไปนี้
• รักษาโดยการให้ยาบำรุงหัวใจ ยาขับปัสสาวะเพื่อช่วยให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น ลดภาวะหัวใจวาย
• รักษาโดยการใช้บอลลูนขยายตรงหลอดเลือดหรือลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ หรือใช้อุปกรณ์พิเศษอุดรูรั่วหรือเส้นเลือดผิดปกติโดยไม่ต้องผ่าตัด
• ถ้าเด็กมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติสามารถให้ยาควบคุมการเต้นผิดปกตินั้น หรืออาจรักษาโดย การจี้ด้วยไฟฟ้าบริเวณที่ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ
• รักษาโดยการผ่าตัดความผิดปกติของหัวใจ โดยอาจผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติทั้งหมดใน คราวเดียวหรืออาจผ่าตัดแบบประคับประคองก่อนเพื่อบรรเทาอาการ แล้วค่อยผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติทั้งหมด เมื่อเด็กโตขึ้น
ข้อมูลที่มา: https://www.bangkokhospital.com/
The post อาการโรคหัวใจมีหลายอาการ โดยโรคหัวใจที่สำคัญแบ่งได้ดังนี้ appeared first on iURBAN.
Credit: อาการโรคหัวใจมีหลายอาการ โดยโรคหัวใจที่สำคัญแบ่งได้ดังนี้ Web: iURBAN Fanpage: facebook.com/iURBAN.in.th
Comments
Post a Comment