พลังแห่งการสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนของชุมชน at iURBAN

พลังแห่งการสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนของชุมชน

ปัญหาภาวะโภชนาการที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทั้งระดับสากลและระดับประเทศ หนึ่งในสาเหตุหลักคือประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในด้านโภชนาการ รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่สมดุลและการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่แอ็คทีฟ ส่งผลให้คนไทยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ Non-Communicable Diseases (NCD) อาทิ โรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ กันมากขึ้น ภาครัฐและภาคเอกชนต่างร่วมมือหาแนวทางแก้ไขปัญหานี้ โดยสนับสนุนให้หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบและใกล้ชิดกับประชาชนในด้านสุขภาพเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน…กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย มุ่งมั่นส่งเสริมประชาชนไทยใช้ชีวิตแอ็คทีฟและสุขภาพดีผ่านแบบแผนการบริโภคที่สมดุลร่วมกับสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ประกาศ 7 รายชื่อ ผู้ได้รับทุนวิจัยในโครงการ “ทุนโคคา-โคลาเพื่อสุขภาวะที่ดี” เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและให้ความรู้ผ่านการผลิตสื่อการสอนและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพชุมชนที่มุ่งสนับสนุนแนวคิดเรื่องสมดุลโภชนาการแบบองค์รวม ซึ่งนักโภชนาการและนักกำหนดอาหารจากทั่วประเทศได้แสดงพลังและความตั้งใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพคนไทยผ่านโครงงานที่เป็นรูปธรรมเพื่อสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนของผู้คนในชุมชน

นางนิตยา กิจชอบ หัวหน้างานโภชนาการ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ.นราธิวาส ผู้ได้รับทุนประเภทงานส่งเสริมสุขภาพชุมชน หัวข้อ “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในอำเภอยี่งอให้มีสุขภาพที่ดี” กล่าวว่า “โรงพยาบาลยี่งอมีผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2557 เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 99 ราย จากการสอบถามผู้ป่วยพบว่าพวกเขาขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการและขาดการออกกำลังกาย เราจึงเกิดแนวคิดว่าต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนในชุมชนโดยด่วนเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยลงให้ได้ โดยเริ่มต้นจากการกระจายความรู้เรื่องโภชนบำบัดและส่งเสริมให้ออกกำลังกายสู่ชุมชนโดยตรง ด้วยการอบรมกลุ่มเครือข่ายให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ซึ่งกลุ่มเครือข่ายประกอบไปด้วย 1. ผู้ป่วย เพื่อจะได้ดูแลตนเองอย่างถูกวิธี 2. ผู้ดูแลผู้ป่วย เช่น ญาติของผู้ป่วย จะได้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกวิธีเช่นกัน 3. แม่บ้าน ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญของระบบ เพราะแม่บ้านมีหน้าที่ดูแลอาหารการกินให้แก่คนในครอบครัว ทั้งนี้ สามารถป้องกันการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ได้ และ 4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ซึ่งพวกเขาเหล่านี้สามารถเข้าถึงชุมชนได้อย่างแท้จริง จะสามารถกระจายความรู้ไปสู่คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี” นิตยากล่าวต่อไปถึงความคาดหวังโครงการตัวเองว่า “เราอยากเห็นพื้นที่ที่เรารับผิดชอบมีผู้ป่วยลดลง ไม่อยากเห็นผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นแล้ว หากใครเป็นแล้วก็ไม่อยากให้เป็นหนักขึ้นถึงแม้เราจะเป็นเพียงแค่จุดเล็กๆ ในประเทศนี้ แต่เราก็มีความตั้งใจจริงเพื่อชุมชนของเรา เพราะเราอยากเห็นทุกคนมีสุขภาพดี ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของชุมชนดีตามไปด้วย”

นางสาวปรารถนา ตปนีย์ อาจารย์ผู้ช่วยสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ) สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้รับทุนประเภทการศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องมือ หัวข้อ “สื่อการสอนเพื่อเสริมสร้างสมดุลสุขภาพที่เหมาะสมกับวิธีการเรียนรู้และความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ” กล่าวว่า “ทุกวันนี้มีสื่อหลากหลายประเภทที่รณรงค์และให้ความรู้ด้านสุขภาพต่อประชาชน เพื่อให้เกิดการใช้สื่อต่างๆ เหล่านั้นให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ประชาชน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดพฤติกรรมสุขภาพ เราจึงทำการวิเคราะห์ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมการเรียนรู้ เพราะมีการเปิดรับข้อมูลใหม่ๆ ทุกคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น หากเราซื้อโทรศัพท์มือถือใหม่สักเครื่องแล้วยังใช้งานไม่เป็น บางคนก็จะเปิดอินเตอร์เน็ตหาวิธีการใช้งานเอง บางคนเปิดคู่มือ บางคนให้เพื่อนสอน เป็นต้น เรื่องสุขภาพก็เช่นกัน หากเรามีเครื่องมือที่ตรงกับพฤติกรรมการเรียนรู้ และมีเนื้อหาเหมาะกับความพร้อมในเปลี่ยนแปลงของการคนแต่ละกลุ่มแล้ว ย่อมต้องมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคนเหล่านั้นอย่างแน่นอน ตอนนี้โครงงานอยู่ในขั้นตอนสำรวจพฤติกรรมคนไทยทั้งผู้ป่วยและบุคคลทั่วไปว่ามีพฤติกรรมการรับสื่อด้านสุขภาพอย่างไร จากนั้นเราจะพัฒนาเครื่องมือซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบเกมส์ จัดการเรียนการสอนให้ความรู้ หรืออาจเป็นแผ่นพับให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของประชาชน โดยให้นักกำหนดอาหารและนักโภชนาการใช้สื่อนี้ในการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน อาจจะเริ่มต้นทดลองใช้ในโรงพยาบาล 1-2 แห่งก่อนในระยะเริ่มต้น ซึ่งเราหวังว่าเพียงแค่ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมคนไทยให้ตระหนักและเข้าใจเรื่องสุขภาพของตนเองมากขึ้น รวมทั้งหวังว่าสื่อของเราจะเป็นเครื่องมือให้นักโภชนาการและนักกำหนดอาหารใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด เพื่อสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนของคนไทยต่อไป”

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงพลังของคนไทยตัวเล็กๆ ที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของคนไทย ที่ถึงแม้จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ก็สามารถแสดงให้เห็นว่ายังมีความตั้งใจที่ยิ่งใหญ่ขับเคลื่อนอยู่ในสังคมไทย เพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยอย่างยั่งยืน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับสื่อมวลชน โปรดติดต่อ ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทีจีส์ ประเทศไทย
วลัยสมร ผึ้งน้อย (ตุ๊กตา) 081-615-0542 / ชฎาจิตต์ พลทรัพย์พาณิชย์ (เจม) 085-911-1471

The post พลังแห่งการสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนของชุมชน appeared first on iURBAN.

Credit: พลังแห่งการสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนของชุมชน Web: iURBAN Fanpage: facebook.com/iURBAN.in.th

Comments

Popular posts from this blog

19 ป้ายโฆษณา (Billboard) สุดครีเอทที่ออกแบบอย่างสร้างสรรค์จนต้องจำแบรนด์ได้ at iURBAN

สามารถตรวจสอบเครื่องสำอางค์เกาหลีว่าเป็นของแท้หรือไม่ผ่านทาง HiddenTag at iURBAN

DIY : อมยิ้มน้ำตาลคริสตัลแบบโฮมเมด at iURBAN